เมนู

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ ผู้ใดเอื้อเฟื้อเกื้อกูล
ในเมตตาภาวนา มาจำเริญเมตตาภาวนาจนคุ้นติดวิญญาณประจำใจอยู่แล้ว ผู้นั้นจะได้อานิสงส์
เป็นอันมากนักหนา เพราะฉะนั้น เมตตาภาวนานี้จึงควรที่บุคคลจะจำเริญยิ่งนัก ขอถวายพระพร
เมตตานิสังสปัญหา คำรบ 4 จบเพียงนี้

กุสลากุสลการิสส สมาสมปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ในสกลชมพูพิภพ ทรงพระปรารภถามปัญหาอื่น
สืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา วิปาโก อันว่าผลแห่งคนสองจำพวก คือ
จำพวกหนึ่งกระทำกุศล จำพวกหนึ่งกระทำอกุศล คนทั้งสองคนนี้จะได้ผลเท่ากันหรือ หรือจะ
ได้น้อยได้มากกว่ากันและต่างกันอย่างไร
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร กุศล
กับอกุศลนี้มีผลต่างกัน ฝ่ายบุคคลที่กระทำการกุศลนั้น ครั้นกระทำกาลกิริยาแล้วบ่ายหน้าไป
สู่สวรรค์ บุคคลกระทำการอกุศลนั้นก็ได้เสวยผลเป็นอันเที่ยงที่จะไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตนี้ เอกนฺตกณฺโห เศร้าหมองโดยส่วนเดียวนี้ เอกนฺต-
สุกฺโก
ส่วนพระโพธิสัตว์เจ้านั้นบริสุทธิผ่องใสยิ่งนัก พระเทวทัตนั้นใจเป็นอกุศล พระบรมโพธิ-
สัตว์เจ้ามีน้ำพระทัยเป็นกุศล ก็ไฉนเล่า บางชาติพระเทวทัตกับพระโพธิสัตว์เจ้ามียศศักดิ์ เสมอกัน
บางชาติไม่เสมอกัน ที่พระโพธิสัตว์มียศศักดิ์และขาติกำเนินต่ำกว่าก็มี เช่นเมื่อครั้งพระเทตทัต
เกิดในตระกูลพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี พระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเรานี้เกิดในตระกูล
คนจัณฑาลรู้วิชาการกระทำมะม่วงให้มีผลใช่ฤดู พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลต่ำกว่าเทวทัตนี้ชาติหนึ่ง
ปุน จ ปรํ ครั้นมาอีกเล่า พระเทวทัตเกิดเป็นกษัตริย์มีนามชื่อว่า พระเจ้าพาราณสี พระโพธิ-
สัตว์เจ้านี้เป็นช้างต้นมงคลหัตถีอันเผือกผู้ของพระเจ้าพาราณสี พระเทวทัตมีชาติสูงกว่าพระ
บรมโพธิสัตว์นี้ก็ชาติหนึ่ง ปุน จ ปรํ อีกชาติหนึ่ง พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระบรมโพธิสิตว์
เป็นพระยาวานรมีนามกรชื่อว่ามหากปิ ชาติหนึ่งเล่า พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง
ฉัททันต์ พระเทวทัตนั้นเป็นพรานตามฆ่าเอางา อีกชาติหนึ่งเล่า พระเทวทัตเป็นมนุษย์ พระโพธิ-